ศาลเจ้าโจวซือกง ตลาดน้อย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
ศาลเจ้าโจวซือกง ศาลเจ้าโจวซือก๋ง | |
---|---|
順興宮 | |
ศาลเจ้าโจวซือกง ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาชาวบ้านจีน |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
เทพ | เฉ่งจุ้ยจ้อซู (เทพโจวซือกง) |
เทศกาล | เทศกาลกินเจ |
หน่วยงานกำกับดูแล | สมาคมฮกเกี้ยนแห่งประเทศไทย |
ปีที่อุทิศ | พ.ศ. 2347 |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | 758 ซอยภาณุรังษี แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ |
ประเทศ | ประเทศไทย |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | สถาปัตยกรรมจีน |
รูปแบบ | สถาปัตยกรรมฮกเกี้ยน |
ผู้ก่อตั้ง | เศรษฐีชาวจีนฮกเกี้ยนแซ่โซว |
เสร็จสมบูรณ์ | พ.ศ. 2347 |
ทิศทางด้านหน้า | ทิศตะวันตก |
ศาลเจ้าโจวซือกง (ตัวเต็ม: 順興宮清水祖師公廟噠叻仔) เป็นศาลเจ้าเทพโจวซือกงของกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยน ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2347 หรือตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1[1] ตั้งอยู่ในบริเวณ ตลาดน้อย แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฮกเกี้ยนแห่งประเทศไทย
ประวัติ
[แก้]ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างเมื่อใดไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ตามหินศิลาบันทึกของศาลเจ้าบันทึกไว้ว่า สร้างเมื่อวันดีปีเจียชิ่งเจี้ยจื่อเหนียน เป็นปีที่ 9 ในจักรพรรดิเจียชิ่ง (จีน: 嘉慶甲子年) ซึ่งตรงกับ ค.ศ. 1804 และ พ.ศ. 2347 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเศรษฐีชาวจีนฮกเกี้ยนแซ่โซว (จีน: 蘇) จากเมืองจวนจิว มณฑลฮกเกี้ยน ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเปิดโรงเผ่าถ่าน ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในย่านบ้านตลาดน้อย ได้นำพาเทพเจ้าเฉ่งจุ้ยจ้อซู (จีน: 清水祖師公) ที่ตนนับถือมาแต่เมืองจีนมาบูชาและได้ตั้งศาลเจ้าให้ท่านได้ประทับ เนื่องจากเฉ่งจุ้ยจ้อซูกงมีชาติภูมิกำเนิดเป็นชาวฮกเกี้ยนและในย่านชุมชนจีนตลาดน้อยเดิมเป็นชุมชนของชาวจีนฮกเกี้ยน ทำให้ศาลของพระเฉ่งจุ้ยจ้อซูกงได้รับความนับถือสืบเนื่องเรื่อยมา
ลักษณะสถาปัตยกรรม
[แก้]ศาลเจ้าโจวซือกงเดิมสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นก่ออิฐผสมไม้ ลักษณะตัวอาคารรูปแบบสถาปัตยกรรมจีนฮกเกี้ยนโบราณ ในอดีตมีแค่หลังเดียว ต่อมาได้ต่อเดิมเป็นสามหลังทะลุติดถึงกัน ภายในและภายนอก มีการตกแต่งหลังคาและผนังด้วยตุ๊กตาปูนปั้นจีนประดับกระเบื้องศิลปะฮกเกี้ยน ตามเทพนิยายจีน มีไม้แกะสลักประดับตามขื่อหลังคา คาน ช่องลมและแท่นบูชาอย่างวิจิตรสวยงาม ผนังสองด้านของศาลมีปูนปั้นประดับกระเบี้องรูปเสื้อขาวแปะฮ่อประจำทิศตะวันตก และมังกรเขียวแชเหล็งประจำทิศตะวันออก ตามคติจีน (เต่าดำฮ่อกู้ประจำทิศเหนือ หงส์แดงอั้งฮ่องประจำทิศใต้) นอกจากนั้นรูปสลักของท่านได้อัญเชิญมาจากมณฑลฮกเกี้ยนประเทศจีน มีขนาดยาวหน้าตักประ 3 เมตร สูง 5 เมตร
แท่นบูชาภายในศาล
[แก้]ซุนเฮงเกียง
[แก้]ซุนเฮงเกียง (จีน: 順興宮) เป็นอาคารประธานของศาลประกอบด้วย
- ทีกงตั๋ว (จีน: 天公壇) ที่ไหว้ฟ้าดิน
- จ้อซูตั๋ว (จีน: 祖師壇) แท่นบูชาหลักของศาลเจ้า ที่ประดิษฐานพระเฉ่งจุ้ยจ้อซู
- เฮียบเทียนตั๋ว (จีน: 協天壇) แท่นบูชาเทพเจ้ากวนอู หรือ เฮียบเทียไต่เต้ (จีน: 協天大帝)
- ซ่งเต้ตั๋ว (จีน: 上帝壇) แท่นบูชาเจ้าพ่อเสือ หรือ เฮี้ยนเทียนซ่งเต้ (จีน: 玄天上帝)
- ซ่าจับลักเทียนล้อ (จีน: 三十六天羅) แท่นบูชาเทพสวรรค์ 36 พระองค์
- มาจ้อโจว (จีน: 媽祖座) แท่นบูชาเจ้าแม่ทับทิม หรือ เทียนซ่งเซ่งโบ้ (จีน: 天上聖母)
- ไท่จู้โจว (จีน: 太子座) แท่นบูชาเทพเจ้าเด็ก
ซุนเฮงซี
[แก้]ซุนเฮงซี (จีน: 順興寺) อาคารฝั่งตะวันออก
- ฮูกุ้ยปุดจ้อ (จีน :富貴佛祖) หรือ พระสังกัจจายน์
- จูหลายปุดจ้อ (จีน: 如來佛祖)
- ตั๋นเซ่งอ๋อง (จีน: 陳聖王)
ฮุยหล่ำตั๋ว
[แก้]- ฮุยหล่ำตั๋ว (จีน: 回南壇) อาคารฝั่งทิศตะวันตก เป็นแดนผู้วายชนม์
เทศกาล
[แก้]- เทศกาลตรุษจีน (จีน:正月春節)
- เทศกาลสารทจีนและเทศกาลพ้อต่อ (จีน:中元普渡盂蘭盆會)
- เทศกาลกินเจ (จีน:九皇大帝九皇勝會)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ไชยพจน์พานิช, อชิรัชญ์ (2014). สถาปัตยกรรมศาลเจ้าจีนสะท้อนภาพชาวจีนในสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ (PDF). สืบค้นเมื่อ 18 June 2023.